วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ข้าวกล่อง ญี่ปุ่น

เริ่มตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 5 แล้ว ที่มีการพกอาหารไปเป็นเสบียงในตอนออกล่าหาสัตว์ , ทำนา ไปจนถึงการออกรบ  แต่คำว่า เบนโตะ พึ่งเกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1534 โดยแม่ทัพใหญ่ผู้มีชื่อว่าโอดะ โนบุนากะ  ท่านเลี้ยงผู้ที่อาศัยในปราสาทของท่านด้วยการแจกจ่ายอาหารให้แต่ละคน เพื่อให้พกไปเป็นเสบียงในขณะทำงานและยังทำให้ไม่ต้องเสียเวลานั่งล้อมวงรับประทานอาหารด้วย











เมื่อรู้จัก เบนโตะ กันแล้วก็ต้องรู้จัก เอกิเบน หรือข้าวกล่องที่ขายตามสถานีรถไฟ  ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยเมจิ ในช่วงปี ค.ศ. 1868-1912 หลังจากการรถไฟของญี่ปุ่นพึ่งเปิดให้บริการ  มีร้านอาหารร้านหนึ่งได้ทำอาหารที่ทานได้ง่ายและสะดวกในการพกพาขึ้น หลังจากนั้นการขายอาหารลักษณะนี้ก็ได้แพร่หลายไปตามสถานีรถไฟต่างๆ

เอกิเบน มาจากคำว่า เอกิ (えき) ที่แปลว่า สถานีรถไฟ กับคำว่า โอะเบนโตะ (おべんとう) ที่แปลว่า ข้าวกล่อง  เมื่อนำทั้ง 2 คำมารวมกันจึงมีความหมายว่าข้าวกล่องที่ขายตามสถานีรถไฟ นอกจากคำว่าเอกิเบนแล้วยังมีคำว่า โซระเบน หรือข้าวกล่องที่ขายตามสนามบิน คำว่า โซระ (そら) แปลว่า ท้องฟ้า

















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น